แก้ว
-
แก้ว
-
จ๊าพริก แก้วลาย แก้วขี้ไก่ แก้วพริก ตะไหลแก้ว แก้วขาว กะมูนิง
-
Murraya paniculata (L.) Jack
-
RUTACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
-
เป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดเล็ก สูงประมาณ 5-10 เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มกลมแน่นทึบ เปลือกลำต้นเป็นสีเทาแตกเป็นร่องๆ เนื้อไม้สีขาวนวล
-
ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกปลายใบคี่ ออกเรียงสลับ มีใบย่อยประมาณ 5-9 ใบ ลักษณะใบเป็นรูปไข่ ปลายและโคนใบแหลม ขอบใบเป็นคลื่นหรือหยักมนเล็กน้อย ใบกว้างประมาณ 1-3 เซนติเมตร ยาวประมาณ 2-7 เซนติเมตร แผ่นใบคล้ายหนังบางๆ หลังใบเป็นสีเขียวเข้มเป็นมัน ท้องใบเรียบมีสีอ่อนกว่า ใบมีต่อมน้ำมัน เมื่อขยี้จะมีกลิ่นฉุนคล้ายผิวส้มติดมือ
-
ออกดอกเป็นช่อสั้นๆตามซอกใบ ดอกย่อยเป็นสีขาว มีกลิ่นหอม กลีบดอกมี 5 กลีบ หลุดร่วงได้ง่าย กลีบดอกมีลักษณะเป็นรูปกลมรี ยาว 2-2.5 เซนติเมตร กว้างประมาณ 7-9 มิลลิเมตร โคนกลีบดอกติดกัน ออกดอกตลอดทั้งปี
-
-
ผลกลมรี หรือเป็นรูปไข่ ปลายสอบเล็กน้อย กว้างประมาณ 5-8 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกเป็นสีแดงอมส้ม ผิวผลมีต่อมน้ำมันเห็นได้ชัดเจน ภายในผลมีเมล็ดประมาณ 1-2 เมล็ด เมล็ดรีหรือเป็นรูปไข่ ปลายสอบ มีขนหนาและเหนียวหุ้มรอบเมล็ด สีขาวขุ่น เมล็ดกว้างประมาณ 4-6 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 6-9 มิลลิเมตร
-
ใบ มีรสร้อน เผ็ด ขม ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย แก้วิงเวียนศีรษะ แก้ไอ ระงับอาการปวดฟันและปวดกระเพาะ แก้ท้องเสีย แก้บิด ช่วยขับลม แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ ช่วยย่อยอาหาร ขับพยาธิตัวตืด ราก ช่วยขับลมชื้นในร่างกาย แก้แผลคัน แมลงสัตว์กัดต่อย แก้แผลฟกช้ำได้