เปล้าน้อย
-
เปล้าน้อย
-
เปล้าท่าโพ
-
Croton fluviatilis Esser
-
EUPHORBIACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
-
เป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้น ผลัดใบ สูงประมาณ 1-4 เมตร แตกกิ่งก้านตั้งแต่โคนต้น เปลือกลำต้นมีสีน้ำตาลปนเทา ผิวค่อนข้างเรียบ
-
ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกัน ใบเป็นรูปหอกรียาว ยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร กว้างประมาณ 4-6 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนเรียว แผ่นใบเรียบเป็นมัน เป็นสีเขียวเข้ม เมื่อใบแก่จะเปลี่ยนเป็นสีส้ม ขอบใบเป็นจักคล้ายซี่ฟัน
-
ดอกออกเป้นช่อ ดอกมีขนาดเล็ก ออกบริเวณซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกแยกเพศ แต่อยู่บนช่อเดียวกัน กลีบดอกเป็นเส้น เมื่อบานแล้วจะโค้งไปด้านหลัง กลีบดอกมีประมาณ 10-15 กลีบ มีสีขาวนวล
-
-
ผลเป็นรูปทรงค่อนข้างกลม เปลือกผลเมื่อแห้งมีสีน้ำตาล แตกง่าย ผลแบ่งเป็น 3 พู มีรอยกลีบเลี้ยงติดอยู่ที่ก้นผล แต่ละพูมีเมล็ด 1 เมล็ด เมล็ดมีสีน้ำตาลผิวเรียบ ลายเส้นตามแนวยาวหนึ่งเส้น กว้างประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ยาว 3-4 มิลลิเมิตร พัฒนาเป็นผลแก่จัดในเดือนกุมภาพันธ์จนถึงมีนาคม
-
ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย แก้เลือดร้อน แก้ไอ ขับเสมหะ กระจายลม ช่วยย่อยอาหาร แก้ท้องเสีย รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ขับลม ขับพยาธิ บำรุงโลหิต ขับโลหิต แก้โรคน้ำเหลืองเสีย รักษาโรคผิวหนัง แก้อาการช้ำใน