เข็มม่วง
-
เข็มม่วง
-
เฒ่าหลังลาย เฒ่าหล้งลาย เฉียงพร้าป่า ยายปลัง รงไม้ ร่องไม้ เข็มสีม่วง เข็มพญาอินทร์
-
Pseuderanthemum graciliflorum (Nees) Ridl.
-
ACANTHACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
-
เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นตรง แตกกิ่งก้านจำนวนมาก เป็นทรงพุ่มแน่นทึบ ตัดแต่งทรงได้ง่าย
-
ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้าม เรียงเวียนสลับ ใบเป็นรูปรีหรือรูปใบหอกถึงรูปไข่แกมใบหอก ปลายใบแหลม โคนใบแหลมหรือมน ขอบใบเรียบ
-
ดอกออกเป็นช่อแบบช่อฉัตร ออกตามซอกใบหรือปลายกิ่ง ดอกสีฟ้าอมม่วง สามารถออกดอกได้ตลอดปี จะออกมากช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์
-
-
ผลเป็นรูปไข่ยาว แห้ง แตก
-
นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ มีสรรพคุณ ต้มน้ำดื่มรักษาโรคริดสีดวงทวาร บำรุงร่างกาย แก้อาการอ่อนเพลีย ใบนำมาตำพอกหรือต้มกับน้ำอาบ ช่วยแก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน คนไทยโบราณมักจะปลูกต้นเข็มไว้เป็นไม้ประจำบ้าน เพื่อทำให้มีความเฉลียวฉลาด ใช้ในพิธีไหว้ครู และใช้บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์