หว้า
-
หว้า
-
หว้าป่า หว้าขาว หว้าขี้นก หว้าขี้แพะ
-
Syzygium cumini (L.) Skeels
-
MYRTACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
-
เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 15-25 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดรูปไข่ หรือรูปทรงกลม ลำต้นเปลาตรง แตกกิ่งก้านที่ความสูง 2-4 เมตร โคนต้นเป็นพูพอนเล็กน้อย กิ่งก้านสาขาจะแผ่ออกมาทางด้านข้าง ทรงพุ่มหนาทึบ เนื้อไม้แข็ง เปลือกสีน้ำตาลอมเทาถึงเทาคล้ำ ค่อนข้างเรียบ มีรอยแตกเป็นสะเก็ดเล็ก ๆ ทั่วไป
-
เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงกันข้าม รูปรีหรือรูปไข่ ใบเรียบ ปลายใบมนแหลม โคนใบมน ผิวใบเป็นมันเรียบ เส้นใบแตกแขนงออกจากเส้นกลาง ใบค่อนข้างเป็นระเบียบ ใบปลายกิ่งจะเป็นคู่
-
ออกดอกเป็นช่อแบบแยกแขนง มีช่อย่อยแบบซี่ร่ม ตามซอกใบระหว่างโคนก้านใบกับกิ่ง และปลายกิ่ง ดอกขนาดเล็ก สีขาว กลีบเลี้ยงรูปถ้วยปลายแผ่แยกออกเป็น 4 กลีบ ยาว 0.3-0.4 เซนติเมตร กลีบดอก 4 กลีบ มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ออกดอกในเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์
-
-
เป็นผลแบบผลสด มีเนื้อ รูปทรงกระบอกหรือรูปขอบขนาน กว้าง 1.0-1.5 เซนติเมตร ยาว 1.5-2.0 เซนติเมตร ผลอ่อนสีเขียวผิวเรียบเป็นมัน ผลแก่สีแดงและเปลี่ยนเป็นสีม่วงเกือบดำเมื่อผลสุก เนื้อในมีสีม่วงเข้ม รสหวานอมเปรี้ยวและฝาดเล็กน้อย ภายในผลมีเมล็ด 1 เมล็ด ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าผลเล็กน้อย รูปทรงกระบอกหรือขอบขนานสีเหลืองอมน้ำตาล เปลือกแข็ง
-
ลำต้นนำมาสร้างที่อยู่อาศัย เปลือก ต้มดื่มแก้ท้องเสีย บำรุงโลหิต