สัก
-
สัก
-
-
Tectona grandis L.f.
-
LAMIACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
-
เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดใหญ่ สูง 20 - 30 เมตร ลำต้นเปลาตรง เรือนยอดเป็นทรงพุ่มกลมค่อนข้างทึบ เปลือกต้นหนา มีสีเทาหรือสีน้ำตาลอ่อนแกมเทา เปลือกต้นเรียบหรือแตกเป็นร่องเล็ก ๆ ตามความยาวของลำต้น เมื่อต้นแก่โคนต้นจะเป็นร่องและมีพูพอนขึ้นบ้างเล็กน้อย
-
ใบเป็นใบเดี่ยว แตกออกจากกิ่งเป็นคู่ ๆ ตรงข้ามกัน แต่ละคู่จะตั้งฉากสลับกันไปตามความยาวของกิ่ง ใบเป็นรูปรีกว้าง หรือรูปไข่กลับ ปลายใบมีหางสั้น ๆ โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ ขนาดกว้างประมาณ 12-35 เซนติเมตร ยาวประมาณ 15-60 เซนติเมตร พื้นใบสากมือ ท้องใบมีสีเขียวและมีขนปกคลุม ก้านใบยาวประมาณ 1-5 เซนติเมตร ผลับใบช่วงฤดูแล้ง (พฤศจิกายน-มกราคม)
-
ดอกออกเป็นช่อขนาดใหญ่บริเวณซอกใบและปลายยอด เป็นดอกสมบูรณ์เพศ ดอกย่อยมีขนาดเล็ก กลีบดอกเป็นสีเขียวนวล มีกลีบดอก 6 กลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด มีขนทั้งด้านนอกและด้านใน
-
เมล็ดเป็นรูปทรงไข่ ขนาดกว้างประมาณ 0.4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 0.6 เซนติเมตร เมล็ดจะเรียงไปตามแนวตั้งของผลสัก แต่ละเมล็ดจะห่อหุ้มด้วยเปลือกหุ้มเมล็ดบาง ๆ
-
ผลเป็นรูปทรงกลมแป้น เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-2 เซนติเมตร มีชั้นของกลีบเลี้ยงหุ้มอยู่ ลักษณะพองลมและบาง มีสีเขียว ผลหนึ่งมีเมล็ดประมาณ 1-4 เมล็ด เมื่อผลแก่จัดจะเป็นสีน้ำตาล
-
เป็นยาลดระดับน้ำตาลในเลือด บำรุงโลหิต แก้อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ แก้เจ็บคอ แก้ไข้ คุมธาตุในร่างกาย ขับลม ขับพยาธิ เนื้อไม้นำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลายตามอายุและขนาดของไม้ ไม่ว่าจะเป็นใช้ก่อสร้างอาคารบ้านเรือน ไม้อัด ไม้ปาร์เก้ ไม่แกะสลัก เฟอร์นิเจอร์ ต่อเรือ รถ เครื่องมือกสิกรรม วบกบประตู หน้าต่าง เนื่องจากมีลวดลายสวยงาม เนื้อไม้แข็งปานกลาง ทนทาน ตกแต่งได้ง่าย ชักเงาได้ดี