ว่านไพลเหลือง
-
ว่านไพลเหลือง
-
-
-
Zingiber montanum (J.Koenig) Link ex A.Dietr.
-
ZINGIBERACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
-
เหง้ามีลักษณะเป็นข้อ ๆ แตกแขนงแผ่แบนในแนวนอน รูปร่างเหมือนฝ่ามือประกอบด้วยแง่งเล็ก ๆ รากยาวไม่มีเต้าสะสมอาหารเหมือนว่านชนิดอื่น ๆ เปลือกนอกมีสีน้ำตาลแกมเหลือง ผิวมัน เนื้อในสีเหลืองทอง มีกลิ่นหอมระเหย ให้รสเผ็ดเล็กน้อย
-
-
-
-
-
-
-
-
-
ในทางความเชื่อเพื่อป้องกัน ขับไล่ และล้างอาถรรพ์จากภูตผีปีศาจ บางพื้นที่มีความเชื่อในการใช้ต้นไพลเหลืองฟาดหรือตีเพื่อขับไล่ผีที่เข้าร่างคนป่วย
ใช้ประกอบอาหารแทนข่าได้ช่วยทำให้อาหารสีมีเหลืองน่ารับประทานหรือทำข้าวเหนียวเหลืองโดยใช้น้ำจากว่านไพลเหลืองไปแช่ข้าวก่อนหุง
มีสรรพคุณทางยาช่วยบำรุงสุขภาพ รักษาอาการเคล็ดขัดยอก ฟกช้ำ บวม ช่วยสมานแผล แก้อาการผดผื่นคัน ขับลมในสำไส้ รักษาแผลในกระเพาะ แก้จุกเสียดแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ
การนำมาใช้ : ใช้หัวต้มกับน้ำ (อัตราส่วน 1:3) ให้เดือด ใช้ดื่มช่วยขับลมในสำไส้ รักษาแผลในกระเพาะ และบำรุงร่างกาย หรือใช้เหง้าแห้งบดเป็นผงรับประทานครั้งละ 1 ช้อนชา ชงน้ำร้อน ผสมเกลือเล็กน้อย แก้ท้องขึ้น ท้องอืดท้องเฟ้อ และใช้เป็นผสมในการทำลูกประคบ (เข้ายา) รักษาอาการเคล็ดขัดยอก ฟกช้ำบวม