ว่านมหาเมฆ
-
ว่านมหาเมฆ
-
ว่านขมิ้นดำ (เชียงใหม่)
-
Curcuma aeruginosa Roxb.
-
ZINGIBERACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
-
เหง้าหลักรูปไข่ ข้อตามเหง้าแตกแขนงออกทั้งสองข้าง ข้อห่างหัวสั้นเป็นปุ่ม เนื้อในเหง้าสีเหลืองอมเขียวอ่อน และเปลี่ยนสีไปเรื่อย ๆ เป็นสีม่วงแกมสีฟ้า (ชั้นในหัวชั้นนอกสีขาว ชั้นในสีม่วงอมน้ำเงิน) มีกลิ่นหอมฉุน รสขมเผ็ดร้อนฝาดเฝื่อน
-
-
-
-
-
เชื่อกันว่าหากเกิดจันทรุปราคา เมื่อเมฆเริ่มบังดวงพระอาทิตย์ให้นำเหง้าว่านมาปลุกเสกด้วยคาถาพระเจ้าห้าพระองค์ “นะโมพุทธายะ” และ “อิติปิ โส ภะคะวา ถึงภะคะวาติ” ด้วยการกินเหง้าว่านและท่องคาถาไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งพระจันทร์มืดหมดดวง จากนั้นให้นำเหง้าว่านมาโขลกให้ละเอียด นำมาทาบตัว ว่านจะสำแดงอานุภาพบังตัวทำให้ผู้อื่นมองไม่เห็น หากปรารถนาสิ่งใดก็จะได้สมดังใจปรารถนา ช่วยให้อยู่ยงคงกระพันชาตรียิ่งขึ้น
มีสรรพคุณในการช่วยบำรุงร่างกาย กระจายเลือด รักษาริดสีดวงทวาร ขับถ่ายพยาธิเส้นด้าย แก้จุกเสียดแน่นหน้าอกขับลม แก้จุกเสียดแน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ สมานแผลต้านเชื้อรา และช่วยทำให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น
การนำมาใช้ : ใช้หัวสด นำมาฝานเป็นชิ้นบาง ๆ โดยไม่ต้องปอกเปลือก นำไปตากแดดจนแห้ง ห่อด้วยผ้าขาวบางแล้วนำไปดองกับเหล้าขาว 40 ดีกรี จำนวน 2 ขวด ทิ้งไว้ 3 วันเพื่อให้เนื้อยาออก ใช้ดื่มก่อนอาหารวันละ 3 เวลาและก่อนนอนครั้งละ 1 แก้วเล็ก ช่วยให้เลือดลมดี หรือใช้เหง้าสดหั่นเป็นแว่นบาง ๆ ดองกับสุรากลั่น 40 ดีกรี ดื่มเป็นยาสำหรับสตรีที่คลอดบุตรใหม่ ช่วงอยู่ไฟ รักษาอาการปวดและอักเสบมดลูก และให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น หรือผสมกับเกลือ กินก่อนอาหารทุกเช้า-เย็น ช่วยแก้โรคกระเพาะและลำไส้