มะยม
-
มะยม
-
หมากยม หมักยม ยม
-
Phyllanthus acidus (L.) Skeels
-
PHYLLANTHACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
-
เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงกลาง มีความสูงประมาณ 3-10 เมตร ลำต้นมีลักษณะค่อนข้างกลม ผิวเรียบ เป็นลูกคลื่นเล็กน้อย ลำต้นแตกกิ่งตั้งแต่ระดับล่างของลำต้น กิ่งค่อนข้างเปราะ และหักง่าย แตกใบจำนวนมากตามกิ่ง
-
ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อยออกเรียงกันแบบสลับเป็น 2 แถว ก้านมะยมมีใบย่อยประมาณ 20-30 คู่ ขนาดใบมะยมกว้างประมาณ 1.5-3.5 เซนติเมตร ยาว 2.5-7.5 เซนติเมตร เมื่อใบมะยมแก่จะร่วงหล่นที่พื้นและแตกใบใหม่ที่ยอดทดแทน
-
ดอกมะยมออกเป็นช่อ แทงออกตามกิ่งและลำต้น แต่ส่วนมากออกตามปลายกิ่งจนถึงยอด มักแทงออกบริเวณด้านล่างของใบ เป็นดอกเพศผู้และดอกเพศเมียในต้นเดียวกัน มีก้านดอกยาว 1-2 มิลลิเมตร กลีบดอกมีรูปร่างคล้ายไต มีสีเขียวหรือสีแดงรื่อ กลีบดอกยาวประมาณ 1.5 มิลลิเมตร
-
-
ผลมีลักษณะเป็นพูเว้านูนรอบผล ประมาณ 6-8 พู เหลียมนูน ผลค่อนข้างกลมแบน ผลกว้างประมาณ 1-3 เซนติเมตร มีขั้วผลสั้นประมาณ 0.5 เซนติเมตร ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่มีสีเหลืองอมเขียวเล็กน้อย เนื้อผลมีรสเปรี้ยว ผล 1 ผล มีเมล็ด 1 เมล็ด มีลักษณะเป็นพูคล้ายผล เนื้อเมล็ดแข็งมาก
-
ผลแก้ไอ ขับเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน ใช้เป็นยาระบาย ช่วยในการขับถ่าย ใบใช้รับประทาน ช่วยบำรุงประสาท ใช้ทาแก้ผื่นคันตามผิวหนัง ป้องกันโรคมะเร็งในลำไส้ กระตุ้นระบบภูมิต้านทานในร่างกาย ช่วยบำรุงผิวพรรณ ราก ต้มเป็นยาระบาย ช่วยขับปัสสาวะ ขับเหงื่อ