มะค่าโมง
-
มะค่าโมง
-
มะค่าใหญ่ มะค่าหลวง ฟันฤาษี มะค่าหลวง มะค่าหัวคำ มะค่า เขง เบง ปื้น มะค่าโมง บิง
-
Afzelia xylocarpa (Kurz)
-
LEGUMINOSAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
-
เป็นไม้ขนาดใหญ่ ลำต้นมีความสูงประมาณ 10 – 18 เมตร มีเรือนยอดเป็นพุ่มกว้าง แตกกิ่งต่ำตั้งแต่ระดับล่างของลำต้น เปลือกลำต้นมีสีน้ำตาลอ่อนอมชมพู กิ่งอ่อนมีขนปกคลุม
-
ใบมะค่าโมงเป็นใบประกอบ ออกเรียงสลับกันบนกิ่งแขนง มีก้านใบหลักยาวประมาณ 18-30 เซนติเมตร ประกอบด้วยใบย่อยขึ้นตรงกันข้าม 3 – 5 คู่ ใบย่อยมีก้านใบสั้นประมาณ 3 – 5 มิลลิเมตร ใบย่อยแต่ละใบมีลักษณะเป็นรูปไข่ ฐานใบ และปลายใบมน แผ่นใบเรียบ และมีสีเขียวเข้ม แผ่นใบมีเส้นกลางใบชัดเจน ขนาดใบกว้างประมาณ 2-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 4 – 10 เซนติเมตร
-
ดอกมะค่าโมงออกดอกเป็นช่อบริเวณปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 5 – 15 เซนติเมตร มีขนคลุมบาง ๆ ดอกย่อยมีก้านดอกยาว 7 – 10 มิลลิเมตร ดอกมีใบประดับเป็นรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ยาว 6 – 9 มิลลิเมตร มีขนปกคลุม กลีบรองดอกมี 4 กลีบ กลีบรองดอกมีรูปขอบขนาน เรียงซ้อนทับกัน ยาวประมาณ 10 – 12 มิลลิเมตร ส่วนกลีบดอกมีเพียงกลีบเดียว มีรูปทรงกลม ยาว 5 – 12 มิลลิเมตร แผ่นกลีบดอกมีสีแดงเรื่อๆ ดอกจะออกประมาณเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม
-
เมล็ดมีลักษณะกลม เปลือกเมล็ดมีสีดำ และมีเยื่อหนาสีเหลืองประแดง ซึ่งมีลักษณะคล้ายรูปฟันคน ยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร หุ้มบริเวณฐานเมล็ด จึงเรียก ฟันฤๅษี
-
ฝัก มีลักษณะแบนขนาดใหญ่ ฝักกว้างประมาณ 7 – 10 เซนติเมตร ยาวประมาณ 12 – 20 เซนติเมตร ฝักอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่จะมีสีน้ำตาล และจะปริแตกออกเป็น 2 ซีก ส่วนด้านในมีเมล็ด 2-5 เมล็ด ฝักจะแก่ประมาณเดือนมิถุนายน-สิงหาคม
-
ใช้ในงานก่อสร้าง และเครื่องเรือน ฟอกหนัง เปลือก ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ รักษาริดสีดวง แก้ท้องเสีย รักษาโรคบิด รักษาโรคผิวหนัง