มะกอกป่า
-
มะกอกป่า
-
กูก กอกกุก กอกเขขา ไพแซ กอกหมอง กราไพ้ย ไพ้ย
-
Spondias pinnata (L.f.) Kurz
-
ANACARDIAERAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
-
เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ มีความสูงของต้นประมาณ 15-25 เมตร ลำต้นตั้งตรงและมีลักษณะกลม เรือนยอดเป็นพุ่มกลม แตกกิ่งก้านโปร่ง กิ่งมักห้อยลง เปลือกต้นเป็นสีเทา เปลือกหนาเรียบ มีปุ่มปมบ้างเล็กน้อย มีรูอากาศตามลำต้น กิ่งอ่อนมีรอยแผลการหลุดร่วงของใบตามเปลือก
-
ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ปลายใบคี่ออกเรียงสลับ มีใบย่อยประมาณ 4-6 คู่ โดยจะออกเป็นคู่ๆตรงข้ามกัน หรือเยื้องกันเล็กน้อย ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบแหลมหรือเป็นติ่งแหลม โคนใบมนเบี้ยวหรือขอบไม่เท่ากัน ส่วนขอบใบเรียบมีขนาดกว้างประมาณ 3-4 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7-12 เซนติเมตร แผ่นใบค่อนข้างนุ่ม ใบอ่อนเป็นสีน้ำตาลแดง ใบหนาเป็นมัน
-
ดอกเป็นแบบแยกเพศแต่อยู่บนต้นเดียวกัน โดยจะออกเป็นช่อแบบแยกแขนงที่ปลายกิ่งหรือออกตามซอกใบ มีดอกย่อยจำนวนมากและมีขนาดเล็ก ดอกย่อยเป็นสีครีม มีกลีบดอกสีขาว 5 กลีบ กลีบดอกเป็นรูปรี ปลายกลีบดอกแหลม มีขนาดประมาณ 4 มิลลิเมตร ส่วนกลีบเลี้ยงดอกมี 5 กลีบ ลักษณะเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็นแฉก 5 แฉก ออกดอกข่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์
-
ภายในผลมีเมล็ดเดี่ยวขนาดใหญ่และแข็งมาก ผิวเมล็ดเป็นเสี้ยนและขรุขระ
-
ผลเป็นผลสด มีเนื้อฉ่ำน้ำ รูปไข่ กว้างประมาณ 2.5-3 เซนติเมตร ยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร ผลอ่อนเป็นสีเขียว ส่วนผลแก่เป็นสีเหลืองอมเขียวถึงสีเหลืองอ่อน ประไปด้วยจุดสีเหลืองและดำ มีรสเปรี้ยวจัด
-
เปลือกต้น ใบ และผล ใช้เป็นยาบำรุงธาตุในร่างกาย เนื้อในผลช่วยแก้ธาตุพิการ เพราะน้ำดีไม่ปกติ และกระเพาะอาหารพิการ ช่วยแก้โรคขาดแคลเซียมได้