พิกุล
-
พิกุล
-
ซางดง พิกุลเขา พิกุลเถื่อน พิกุลป่า แก้ กุน ไกรทอง ต้นหยง มะเมา พกุล พิกุลทอง
-
Mimusops elengi L.
-
SAPOTACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
-
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ มีความสูงของต้นประมาณ 10-25 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มกว้าง หนาทึบ เปลือกต้นเป็นสีเทาอมสีน้ำตาล แตกเป็นรอยแตกระแหงตามแนวยาว ทั้งต้นมียางสีขาว กิ่งอ่อนและตามีขนสีน้ำตาลขึ้นปกคลุม
-
ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกันแบบห่างๆ ใบเป็นรูปไข่หรือรูปรี ใบกว้างประมาณ 3-6 เซนติเมตร ยาวประมาณ 5-12 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลมหรือหยักเป็นติ่งสั้นๆ โคนใบมน ขอบใบเรียบและเป็นคลื่นเล็กน้อย หลังใบเป็นสีเขียวเรียบเป็นมัน ท้องใบเป็นสีเขียวอ่อน เนื้อใบค่อนข้างเหนียว
-
ดอกเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นกระจุกประมาณ 2-6 ดอก โดยจะออกตามซอกใบหรือตามปลายกิ่ง ดอกมีขนาดเล็ก สีขาวนวล มีกลิ่นหอม หลุดร่วงได้ง่าย เมื่อดอกบานเต็มที่จะกว้างประมาณ 0.7-1 เซนติเมตร ก้านดอกย่อยยาวประมาณ 2 เซนติเมตร กลีบเลี้ยง 8 กลีบ เรียงซ้อนกัน 2 ชั้น ชั้นละ 4 กลีบ ออกดอกตลอดปี
-
เมล็ดมีลักษณะแบนรี แข็ง สีดำเป็นมัน
-
ผลรูปไข่ถึงรี ผิวผลเรียบ ผลอ่อนมีสีเขียว ขนสั้นนุ่ม เมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีแสด ที่ขั้วผลมีกลีบเลี้ยงติดคงทน ผลกว้างประมาณ 1.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 2.5-3 เซนติเมตร เนื้อในผลเป็นสีเหลือง มีรสหวานอมฝาด ในผลมี 1 เมล็ด
-
บำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ คุมธาตุในร่างกาย แก้โลหิต แก้อาการอ่อนเพลีย แก้หอบหืด แก้ไข้ ร้อนใน แก้ปวดศีรษะ เป็นยานัตถุ์ แก้อาการเจ็บคอ แก้ปวดฟัน ขับเสมหะ บำรุงปอด ขับลม ขับปัสสาวะ แก้อาการบวม แก้เกลื้อน ฝีเปื่อยพัง