พะยูง
-
พะยูง
-
ประดู่เสน ขะยูง ประดู่ตม แดงจีน พะยูงไหม ประดู่ลาย พยุง พะยูง กระยง กระยูง
-
Dalbergia cochinchinensis Pierre
-
FABACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
-
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบช่วงสั้น ๆ มีลักษณะคล้ายกับต้นประดู่ สูงได้ถึง 25 เมตร เมื่อโตเต็มที่ลำต้นจะเปลาตรง มีเรือนยอดเป็นรูปทรงกลมหรือรูปไข่ทึบ เปลือกต้นเรียบเป็นสีเทา และล่อนเป็นแผ่นบาง ๆ เปลือกด้านในเป็นสีน้ำตาลแกมสีเหลือง เนื้อไม้สีแดงอมม่วงถึงแดงเลือดหมู เนื้อละเอียด มีความแข็งแรงทนทาน
-
ใบเป็นใบประกอบ แบบขนนกปลายคี่ ใบเป็นรูปรีแกมรูปไข่ ติดเรียงสลับประมาณ 7-9 ใบ ปลายสุดเป็นใบเดี่ยว ใบย่อยเป็นรูปไข่แกมรูปขอบขนาน รูปไข่ หรือรูปใบหอก ปลายใบแหลมยื่นเล็กน้อย โคนใบมนกว้าง แล้วค่อย ๆ เรียวสอบแหลมไปทางปลายใบ ส่วนขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบเหนียวคล้ายแผ่นหนังบาง ๆ
-
ดอกออกรวมกันเป็นช่อแยกแขนงตามปลายกิ่งหรือตามง่ามใบใกล้กับปลายยอด ช่อดอกตั้งขึ้น ยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร ดอกมีขนาดเล็ก ลักษณะของกลีบดอกเป็นรูปดอกถั่วสีขาวนวล มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ กลีบดอกมี 5 กลีบ ออกดอกประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม
-
เมล็ดเป็นรูปไต มีสีน้ำตาลแข้ม มี 1-4 เมล็ดต่อฝัก ผิวเมล็ดค่อนข้างมัน กว้างประมาณ 4 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 7 มิลลิเมตร
-
ผลออกเป็นฝัก ลักษณะของฝักเป็นรูปขอบขนาน แบนและบอบบาง มีขนาดกว้างประมาณ 1.2 เซนติเมตร และยาวปประมาณ 4-6 เซนติเมตร ผิวฝักเกลี้ยง ตรงกลางมีกระเปาะหุ้มเมล็ด เมื่อฝักแก่แล้วจะไม่แตกออกเหมือนฝักมะค่าโมง หรือไม้แดง
-
เนื้อไม้มีสีสันและลวดลายสวยงาม เป็นไม้ที่มีราคาแพง