ประดู่
-
ประดู่
-
ประดู่เสน ดู่ ดู่ป่า ประดู่
-
Pterocarpus macrocarpus Kurz
-
FABACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
-
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ เรือนยอดเป็นพุ่มกลมหรือเป็นรูปร่ม ไม่แผ่กว้าง ลำต้นตั้งตรงมีความสูงได้ประมาณ 15-30 เมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.3-2.1 เมตร ไม่ค่อยแตกกิ่งก้านสาขา เปลือกลำต้นหนาเป็นสีน้ำตาลดำแตกเป็นระแหงทั่วไป กิ่งและก้านอ่อนมีขนนุ่มขึ้นทั่วไป ส่วนกิ่งแก่ผิวจะเกลี้ยง
-
ใบมีขนาดใหญ่กว่าใบประดู่บ้านเล็กน้อย ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ แต่ละช่อใบจะมีใบย่อยประมาณ 5-11 ใบย่อย ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปค่อนข้างมน หรือรูปไข่ถึงรูปขอบขนาน ปลายใบแหลมเป็นติ่ง โคนใบมนหรือค่อนข้างแหลม ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.5-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-15 เซนติเมตร แผ่นใบเหนียวคล้ายหนัง ใบอ่อนมีขนเล็กน้อย ส่วนใบแก่จะเกลี้ยง ผิวใบจะมีขนสั้น ๆ ปกคลุมท้องใบมากกว่าหลังใบ ก้านใบอ่อนมีขนอ่อนปกคลุมเล็กน้อย
-
ออกดอกเป็นช่อสีเหลืองตามซอกใบและที่ปลายกิ่ง ช่อดอกมีลักษณะห้อยลง ยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร และมีขนาดใหญ่กว่าประดู่บ้าน แต่จะไม่มีค่อยมีดอก ออกดอกไม่ดก หรือออกประปราย ดอกเป็นสีเหลือง รูปร่างของดอกเป็นรูปดอกถั่ว กลีบเลี้ยงดอกเป็นสีน้ำตาลอมเขียวหรือเป็นสีเขียว มี 5 กลีบ ติดกันเป็นถ้วย ปลายแยกเป็น 2 แฉก แบ่งเป็นอันบน 2 กลีบติดกัน และอันล่าง 3 กลีบติดกัน กลีบยาวประมาณ 6-8 มิลลิเมตร ส่วนกลีบดอกมี 5 กลีบ เป็นสีเหลืองแกมแสด ขนาดเล็ก ลักษณะของกลีบเป็นรูปผีเสื้อ กลีบยาวประมาณ 8-15 เซนติเมตร
-
เมล็ดเป็นสีน้ำตาลแดง มีขนาดยาวประมาณ 0.4-0.5 นิ้ว
-
ออกผลเป็นฝักกลมแบน ผลมีขนาดใหญ่กว่าผลประดู่บ้านและมีขนปกคลุมอยู่ ผลมีปีกคล้ายจานบิน มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5-7 เซนติเมตร ผลอ่อนเป็นสีเขียวอ่อน เมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแกมเทา ตรงกลางมีเปลือกคลุม แข็งและหนา มีเมล็ดประมาณ 1-2 เมล็ด ผลจะแก่ในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน
-
บำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง แก้โลหิตจาง แก้กษัย แก้ไข้ แก้เสมหะ แก้อาเจียน ขับปัสสาวะ แก้ผดผื่นคัน แก้คุดทะราด แก้พิษเบื่อเมา