ตะเคียน
-
ตะเคียน
-
ตะเคียนทอง ตะเคียนใหญ่ จะเคียน แคน ไพร กะกี้ โกกี้ จูเค้ โซเก จืองา
-
Hopea odorata Roxb.
-
DIPTEROCARPACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
-
จัดเป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดใหญ่ ลำต้นเปลาตรง สูงประมาณ 20-40 เมตร เรือนยอดเป็นทรงพุ่มทึบ กลม หรือเป็นรูปเจดีย์แบบต่ำๆ เปลือกต้นหนาเป็นสีน้ำตาลดำ แตกเป็นสะเก็ด แก่นไม้ตะเคียนเป็นสีน้ำตาลแดง เนื้อไม้เป็นสีเหลืองหม่นหรือสีน้ำตาลอมสีเหลือง
-
ใบเป็นใบเดี่ยว ใบเป็นรูปไข่แกมหอกหรือดาบ ปลายใบเรียว โคนใบมน ป้านและเบี้ยว ใบกว้างประมาณ 3-6 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร แผ่นใบบางแต่ค่อนข้างเหนียว หลังใบเกลี้ยงเป็นมัน ท้องใบมีตุ่มหูดเกลี้ยง ๆ อยู่ตามง่ามแขนงของใบ ปลายโค้งแต่ไม่จรดกัน
-
ดอกออกเป็นช่อยาวแบบช่อแยกแขนงตามปลายกิ่ง และตามง่ามใบ มีดอกย่อยอยู่ช่อละประมาณ 40-50 ดอก ช่อดอกมีความยาวประมาณ 5-7 เซนติเมตร ดอกเป็นสีเหลืองแกมสีน้ำตาลขนาดเล็ก มีกลิ่นหอมและมีขนนุ่ม ดอกมีกลีบดอก 5 กลีบ เมื่อดอกบานเต็มที่กลีบดอกจะบิดเป็นกงจักร ปลายกลีบดอกหยัก ส่วนล่างกลีบบิดและเชื่อมติดกัน ดอกออกช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม แต่จะไม่ออกดอกทุกปี ช่วงที่ดอกออกมากจะมีประมาณ 3-5 ครั้งต่อปี
-
เมล็ดค่อนข้างกลมสีน้ำตาล
-
ผลเป็นผลแห้งไม่แตก ผลเป็นสีเขียวอ่อน เมื่อสุกจะเป็นสีน้ำตาลเข้ม ผลมีลักษณะกลมหรือเป็นรูปไข่เกลี้ยง เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.6 เซนติเมตร ปลายในเป็นติ่งคล้ายหนามแหลม มีปีกยาว 1 คู่ ลักษณะเป็นรูปใบพาย ยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร ปลายปีกกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร 1 ผลมี 1 เมล็ด ออกผลในช่วงเดือนกุมภาพันธุ์ถึงเดือนเมษายน
-
แก้โลหิตและกำเดา คุมธาตุ แก้อาการลงแดง ขับเสมหะ แก้ปวดฟัน แก้เหงือกบวม เหงือกอักเสบ เชื้อโรคในปาก แก้อาการท้องร่วง ท้องเสีย ช่วยห้ามเลือด สมานแผล แก้อักเสบ