จันทน์หอม
-
จันทน์หอม
-
จันทน์ชะมด จันทน์ จันทน์ขาว จันทน์พม่า
-
Mansonia gagei Drumm.
-
STERCULIACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
-
เป็นไม้มงคลชั้นสูง เป็นไม้หายาก มีขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูง 10-20 เมตร ลำต้นเปลาตรง เปลือกค่อนข้างเรียบ สีเทาอมขาว แตกเป็นร่อง เรือนยอดเป็นพุ่มค่อนข้างโปร่ง เนื้อไม้มีกลิ่นหอม
-
ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปรี แกมรูปขอบขนานหรือรูปไข่กลับ ปลายใบแหลม โคนใบเว้า เบี้ยวเล็กน้อย ขอบใบเป็นคลื่นห่าง ๆ
-
ดอกมีขนาดเล็ก ออกเป็นช่อ มีสีเหลืองอ่อน ๆ หรือสีขาว ออกบริเวณปลายกิ่ง และตามง่ามใบ กลีบฐานดอกติดกันเป็นรูปเหยือก ปลายแยกเป็นแฉกแหลม ๆ 5 แฉก ออกดอกประมาณเดือนสิงหาคม-ตุลาคม
-
-
ผลเแห้งไม่แตก ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่จะมีสีเหลืองอ่อนจนเป็นสีน้ำตาล ผลมักติดกันเป็นคู่ ๆ แต่ไม่ติดเป็นเนื้อเดียวกัน ทรงผลรูปกระสวยเล็ก ๆ ส่วนปลายผลมีครีบเป็นรูปสามเหลี่ยม 1 ปีก 1 ผล มี 1 เมล็ด ผลจะแก่ในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม
-
เนื้อไม้นิยมใช้ทำหีบเสื้อผ้า เครื่องกลึง แกะสลักทำเสาหลักเมือง หวี ธูป น้ำหอม เครื่องหอม เครื่องสำอาง น้ำอบ และใช้เป็นสมุนไพร แก่น รสขมหอม บำรุงหัวใจ แก้วิงเวียน แก้คลื่นเหียนอาเจียน ทำให้สดชื่น ชูกำลัง