ขนุน
-
ขนุน
-
ขะนู นะยวยซะ เนน ซีคึย ปะหน่อย หมากกลาง นากอ มะหนุน ลาน ล้าง หมักหมี้
-
Artocarpus heterophyllus Lam.
-
MORACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
-
เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูงประมาณ 15-30 เมตร กิ่งและลำต้นเมื่อมีแผลจะมีน้ำยางสีขาวข้นไหลออกมา
-
ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบเป็นรูปรี ปลายใบทู่ถึงแหลม โคนใบมน ใบหนา ผิวด้านบนของใบจะมีสีเขียวเข้มเป็นมัน ส่วนผิวใบด้านล่างสากมือ ใบกว้างประมาณ 5-8 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร
-
ออกดอกเป็นช่อเชิงลด แยกเพศแต่อยู่รวมกัน เป็นช่อสีเขียวอัดแน่นอยู่บนต้นเดียวกัน โดยดอกเพศผู้จะออกตามปลายกิ่งหรือซอกใบ ส่วนดอกเพศเมียจะออกตามกิ่งใหญ่และลำต้น เมื่อติดผลดอกทั้งช่อจะเจริญร่วมกันเป็นผลรวม มีขนาดใหญ่ โดย 1 ดอกจะกลายเป็น 1 ยวง
-
-
ผลมีลักษณะภายนอกคล้ายจำปาดะ ผลดิบปลือกมีสีขาว หนามทู่ ถ้ากรีดจะมียางเหนียว ถ้าแก่เปลือกจะมีสีน้ำตาลอ่อนอมเหลือง และหนามจะป้านขึ้นด้วย ภายในผลของขนุนจะมีซังขนุนหุ้มยวงสีเหลืองไว้ เมล็ดจะอยู่ในยวง ออกดอกปีละ 2 ครั้ง คือ ช่วงเมษายนถึงพฤษภาคม และช่วงธันวาคมถึงมกราคม
-
ช่วยบำรุงโลหิต ทำให้เลือดเย็น บำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย แก้อาการกระหายน้ำ ระงับประสาท แก้โรคลมชัย แก้ท้องเสีย ปวดท้อง เป็นยาระบายอ่อนๆ สมานลำไส้ ช่วยขับพยาธิ แก้โรคผิวหนังต่างๆ สมานแผล