The King Loves Us Museum (Chalermprakiat Building 5, 2st floor)
โซนจัดแสดงที่ 1
เกษตรไทย เกษตรโลก
จัดแสดงนิทรรศการ นำเสนอแนวคิด เรียนรู้อดีต เข้าใจปัจจุบัน สร้างสรรค์อนาคต เพื่อให้เราเรียนรู้ จุดเปลี่ยนสำคัญ พัฒนาการเกษตร ผลกระทบจากบริบทของสังคมโลกต่อเกษตรไทยในอดีต โดยเฉพาะในช่วง ๕ ทศวรรษ ซึ่งเป็นช่วงเวลาสำคัญของการเปลี่ยนแปลง ผลกระทบที่เกิดขึ้นและการย้อนคืนสู่ฐานเดิมของสังคม ด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
โซนจัดแสดงที่ 2
มหัศจรรย์ท้องทุ่ง
จัดแสดงนิทรรศการ บรรยากาศยามเย็น หลังเสร็จสิ้นภารกิจในทุ่ง นาในไร่ในสวน ริมน้ำมีบัวสาย ชาวบ้านมักจะพายเรือมาแวะเก็บสาย บัวตามริมคลองไปทำอาหาร ตามริมน้ำก็จะมีนกน้ำ นกยาง จะหากิน พวกหอย ปู ปลา ที่อาศัยอยู่ตามผิวดินในน้ำ สัมผัสเรื่องราวของ ความสุขและสนุกสนานในวิถีเกษตร ที่เกื้อกูลกันระหว่างคนและ ธรรมชาติ ผ่านบทเพลง “มหัศจรรย์ท้องทุ่ง” ซึ่งแต่เนื้อร้อง ทำนอง และขับร้องโดย ครูสลา คุณวุฒิ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของวิถีงานบุญ ด้วยการลงแรงตำขนมจีน และสนุกสนานกับการเป็นหางเครื่องของ ศิลปินลูกทุ่งในเวทีรำวง ด้วยระบบ Hologram แบบถ่ายทอดสด ซึ่ง เป็นเทคนิคการจัดแสดงนิทรรศการที่ทันสมัยที่สุด บริเวณกลางห้องงานวัด หลังจากฤดูเก็บเกี่ยวหรือหมด จากฤดูทำนา เก็บข้าวเข้ายุ้งเข้าฉางเรียบร้อยแล้ว ก็จะเป็นช่วงเวลา ของงานรื่นเริง เช่น งานบุญสำคัญประจำปี ที่จะจัดกันในวัด ซึ่งเป็น ศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้าน
โซนจัดแสดงที่ 3
วิถีเกษตรลุ่มน้ำ
เรื่องราววิถีเกษตรไทย สังคมเกษตรตั้งแต่วิธีการผลิตการขนส่งสินค้าทางน้ำ สู่ตลาด สถานที่รวบรวมสินค้ากานเกษตรและแหล่งกระจายสินค้าสู่ชุมชน การรวบรวมผลผลิต จากภูมิภาคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นผลผลิตจากพื้นที่ราบสูงทางภาคเหนือ ที่ราบสูงภาค อีสาน ที่ราบลุ่มภาคกลาง และบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลทั้งทางตะวันออก ภาคกลาง และภาคใต้ ผลผลิตที่หลากหลายแสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ และความหลากของแหล่ง ทรัพยากรธรรมชาติ
โซนจัดแสดงที่ 4
ตลาดเก่าชาวเกษตร (ตลาดเงินทวี)
เมื่อสินค้าการเกษตรต่างๆ ขนขึ้นสู่ท่าเรือแล้วจะถูกนำมาขายในตลาดตามชุมชนต่างๆ ซึ่งย่านตลาดนี้ในอดีตมักจะมีลักษณะเป็นร้านห้องแถวตั้งเรียงรายจำหน่ายสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับวิถีชีวิต
โซนจัดแสดงที่ 5
น้อมนำคำพ่อสอน
จัดแสดงนิทรรศการ พระราชกรณียกิจสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งทรงเป็นองค์ประธานแห่งการ น้อมนำตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิ พลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้ตามเสด็จพระราชดำเนินไปในถิ่น ทุรกันดารทั่วประเทศ ภาพที่คนไทยเห็นกันจนชินตา คือ ทรงประทับอยู่เคียงข้าง พระราชบิดาและทรงจดสิ่งต่างๆ ที่ทรงงานลงในสมุดบันทึกเรื่องราวของบุคคล เครือข่ายของพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ ที่ได้น้อมนำพระราชดำริ และ หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลย เดชมหาราช บรมนาถบพิตร มาปฏิบัติจนเกิดผล มีจำนวน ๑๕ ท่าน ดังนี้
ผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม จ.ฉะเชิงเทรา นายขวัญชัย รักษาพันธ์ จ.ฉะเชิงเทรา พระสังฆรักษ์มนัส ขนฺติธมฺโม จ.จันทบุรี นายจันทร์ เรืองเรรา จ.ราชบุรี นายมั่น สามสี จ.ยโสธร (ชมรมรักษ์ธรรมชาติ) นายธวัชชัย กุณวงษ์ จ.สกลนคร (เครือข่ายอินแปง) นายโชคดี ปรโลกานนท์ จ.นครราชสีมา นายทองคำ แจ่มใส จ.บุรีรัมย์ พระครูสุจิณนันทกิจ (สมคิด จารณธมฺโม) จ.น่าน พระครูสมุห์วิเชียร คุณธมฺโม จ.เชียงใหม่ นายเสถียร ใจคำ จ.เชียงใหม่ นายทวีวัตร เครือสาย จ.ชุมพร นายประยงค์ รณรงค์ จ.นครศรีธรรมราช นายลัภย์ หนูประดิษฐ์ จ.สงขลา นายอัมพร ด้วงปาน จ.สงขลา
ห้องฉายวิดีทัศน์ภายในงานหัตถกรรมพื้นบ้าน ฟังบทเพลง “ปรัชญาพอเพียง” ประพันธ์เนื้อร้องและทำนอง โดยคุณเป้ สีน้ำ ฉายให้เห็นภาพวาดสีน้ำ ท้องทุ่งแห่งหมู่บ้านเขาวง อ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์ กับภาพ“รุ่งอรุณแห่งชีวิตพอเพียง” ของชาวบ้านที่ต่างเริ่มดำเนินชีวิตตามภาระหน้าที่ของตน
เครือข่ายและผู้สืบทอด เครือข่ายเศรษฐกิจพอเพียงภาคการเกษตร
Mind Map เครือข่ายเศรษฐกิจพอเพียงภาคการเกษตร เพื่อนำเสนอข้อมูลกลุ่มและเครือข่ายของบุคคลน้อมนำคำพ่อสอนทั้ง ๑๕ ท่าน
รวมทั้งข้อมูลเครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ ผู้สืบทอดวิถีเกษตรไทย เรื่องราวของผู้สืบทอดภูมิปัญญาสังคม
เกษตรไทย ต่างที่มา วิธีการ วิธีคิด แต่มุ่งสู่วิถีเดียวกัน คือ วิถีเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง